ประเภทของหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport)

07:21


ประเภทของหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport)




สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน จากบทความที่แล้ว หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต ( Passport ) คือ อะไร ?? ทำให้เพื่อนๆ พอที่จะทราบความหมาย และข้อมูลของ หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) ไปบ้าง แล้ว ว่าตัว หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) นั้นคืออะไร แล้วมีข้อมูลอะไรบ้างอยู่ในนั้น วันนี้ แต่เพื่อนๆทราบหรือไม่ว่า ตัว หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) ของประเทศไทยเรานั้น มีหลายแบบ หลายประเภท ซึ่งการจำแนกประเภทของ หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) จะใช้สีปกของตัว หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) เป็นตัวแบ่งประเภทครับ ซึ่งเวลาที่เราเดินทางเราจะต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภทด้วยนะครับ โดยจะมีกี่ประเภทแล้วแต่ละประเภทมีความหมายอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยนั้นกันครับ

ประเภทของหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) ในปัจจุบันของประเทศไทยเรามีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

1.  หนังสือเดินทางธรรมดา (ปกสีน้ำตาล) ออกให้บุคคลทั่วไป ที่ใช้ในการเดินทางส่วนตัวไปในต่างประเทศ หนังสือมีอายุ 5 ปี

2. หนังสือเดินทางราชการ (ปกสีน้ำเงิน) ออกให้สำหรับข้าราชการ หรือบุคคลใดที่เดินทางไปทำประโยชน์ทางราชการในต่างประเทศครับ หนังสือมีอายุ 5 ปีเช่นกัน

3. หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) มีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้ โดยออกให้บุคคลดังต่อไปนี้เท่านั้น
  • พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
  • พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
  • ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
  • ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
  • ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
  • อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
  • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  • คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
  • บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย


4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (ปกสีเขียว) มีอายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ และไม่สามารถรอทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัดคือ ไม่มี machine readable bar code ซึ่งหากนำไปขอวีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

- หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับประเภทของ หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) จะเห็นว่ามีหลายประเภทเลยทีเดียว และการใช้งานยังแตกต่างกันด้วย ดังนั้นรู้อย่างนี้แล้ว เพื่อนๆอย่าใช้งานพาสปอร์ตผิดวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้นๆ นะครับ สำหรับวันนี้ต้องขอลาไปก่อน บทความหน้าเราจะมาทำความเข้าใจ ความหมายของ VISA ว่าแตกต่างอย่างไรกับตัว หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) กันครับ  แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าครับ สวัสดีครับ...

อ่านบทความย้อนหลัง
หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต ( Passport ) คือ อะไร ??
ประเภทของหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport)
พาสปอร์ต กับ วีซ่า แตกต่างกันอย่างไร

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

Popular Posts

Like us on Facebook

Flickr Images